วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ยา,สารเสพติดให้โทษ


การใช้ยา....

"ยา"  หมายถึง  สารหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิต และไม่ใช่อาหาร ใช้ในการป้องกัน รักษา หรือบำบัดโรคต่างๆในคนและสัตว์ เพื่อให้พ้นจากการทรมาน หรือความเจ็บปวดจากโรคภัยต่างๆยาเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ยามีทั้งประโยชน์และโทษ  ดังนั้นในการใช้ยาจึงควรมีความรู้ที่ถูกต้อง  เพื่อจะได้ใช้ยาให้เกิดประโยชน์

ยา เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งยาแต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน เช่น ยาทา ยาฉีด ยากิน เป็นต้น หากเราใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือใช้โดยไม่ระมัดระวัง อาจทำให้เกิดโรคอื่นแทรกซ้อนและทำให้เกิดอันตรายได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา ทั้งในเรื่องของการใช้ยาที่ถูกต้อง รู้จักวิธีการเก็บรักษายาไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว และรู้จักสังเกตว่ายานั้นเสื่อมสภาพหรือยัง ดังนี้

1.

ใช้ให้ถูกโรค คือ ใช้ยาให้ตรงกับโรคที่เป็น เราไม่ควรซื้อยาหรือใช้ยาตามคำบอกเล่าของคนอื่น หรือหลงเชื่อคำโฆษณา ควรจะให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นคนจัดให้ เพราะหากใช้ยาไม่ถูกกับโรค อาจทำให้ได้รับอันตรายจากยานั้นได้ หรือไม่ได้ผลในการรักษา และยังอาจเกิดโรคอื่นแทรกซ้อนได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะทั้งที่โรคที่เป็นไม่เกี่ยวกับการติดเชื้อเลย ซึ่งทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ในภายหลัง
2.

ใช้ยาให้ถูกกับคน คือ ต้องดูให้ละเอียดก่อนใช้ว่า ยาชนิดใดใช้กับใคร เพศใด และ อายุเท่าใด เพราะอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของคนแต่ละเพศ แต่ละวัยมีความแตกต่างกัน เช่น ในเด็กการตอบสนองต่อยา จะเร็วกว่าผู้ใหญ่มาก ในสตรีมีครรภ์ยาหลายชนิด มีผลทำให้ทารกพิการได้ ในสตรีที่ให้นมบุตรก็ต้องระวัง เพราะยาอาจถูกขับทางน้ำนม ซึ่งจะส่งผลให้ทารกได้ ในผู้สูงอายุการทำลายยา โดยตับและไตจะช้ากว่าคนหนุ่มสาว
3.

ใช้ยาให้ถูกเวลา ควรปฏิบัติดังนี้


การรับประทานยาก่อนอาหาร ต้องรับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดี ถ้าลืมกินยาในช่วงดังกล่าว ก็ให้รับประทาน เมื่ออาหารมื้อนั้นผ่านไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ยาถูกดูดซึมได้ดี

การรับประทานยาหลังอาหาร โดยทั่วไปจะให้รับประทานยา หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ประมาณ 15 - 30 นาที

การรับประทานยาหลังอาหารทันที หรือพร้อมอาหาร ให้รับประทานยาทันที หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว หรือจะรับประทานยาในระหว่างที่รับประทานอาหารก็ได้ เพราะยาประเภทนี้ จะระคายเคืองต่อกระเพาะมาก หากรับประทานยาในช่วงที่ท้องว่าง อาจทำให้กระเพาะเป็นแผลได้

การรับประทานยาก่อนนอน ให้รับประทานยาก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที

การรับประทานยาเมื่อมีอาการ ให้รับประทานยาเมื่อมีอาการของโรค เช่น ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ และยาลดไข้ แก้ปวด

4.

ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรรับประทานให้ถูกขนาดตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ จึงจะให้ผลดีในการรักษา และควรใช้อุปกรณ์มาตรฐานในการตวงยา ไม่ใช้ช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟ เพราะจะทำให้ได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง แต่หากต้อง สามารถเปรียบเทียบหน่วยมาตรฐานดังนี้

1 ช้อนชา (มาตรฐาน)

 =
5 มิลลิลิตร
 =
2 ช้อนกาแฟ (ในครัว)
 =
1 ช้อนกินข้าว
1 ช้อนโต๊ะ (มาตรฐาน)

 = 
15 มิลลิลิตร
 = 
6 ช้อนกาแฟ (ในครัว)
 = 
3 ช้อนกินข้าว

5.

ใช้ยาให้ถูกวิธี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยาที่ใช้ภายนอก ได้แก่ ขี้ผึ้ง ครีม ยาผง ยาเหน็บ ยาหยอด มีข้อดีคือมีผลเฉพาะบริเวณที่ให้ยาเท่านั้นและมีการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อย จึงไม่ค่อยมีผลอื่นต่อระบบในร่างกาย ข้อเสียคือ ใช้ได้ดีกับโรคที่เกิดบริเวณพื้นผิวร่างกายเท่านั้น และฤทธิ์ของยาอยู่ได้ไม่นาน โดยมีวิธีการใช้ดังนี้
 


ยาใช้ทา ให้ทาเพียงบาง ๆ เฉพาะบริเวณที่เป็นหรือบริเวณที่มีอาการ ระวังอย่าให้ถูกน้ำล้างออกหรือ
ถูกเสื้อผ้าเช็ดออก

ยาใช้ถูนวด ก็ให้ทาและถูบริเวณที่มีอาการเบาๆ

ยาใช้โรย ก่อนที่จะโรยยาควรทำความสะอาดแผล และเช็ดบริเวณที่จะโรยให้แห้งเสียก่อน ไม่ควรโรยยาที่
แผลสด หรือแผลมีน้ำเหลือง เพราะผงยาจะเกาะกันแข็งและปิดแผล อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคภายใน แผลได้

ยาใช้หยอด จะมีทั้งยาหยอดตา หยอดหู หยอดจมูกหรือพ่นจมูก
ยาที่ใช้ภายใน ได้แก่ ยาเม็ดยาผง ยาน้ำ ข้อดี คือ สะดวก ปลอดภัย และใช้ได้กับยาส่วนใหญ่ แต่มีข้อเสียคือ ออกฤทธิ์ได้ช้าและปริมาณยาที่เข้าสู่กระแสเลือดอาจแตกต่างกันตามสภาพการดูดซึม โดยมีวิธีการใช้ดังนี้

 


ยาเม็ดที่ให้เคี้ยวก่อนรับประทาน ได้แก่ ยาลดกรดและยาขับลมชนิดเม็ดทั้งนี้เพื่อให้เม็ดยาแตกเป็นชิ้นเล็ก จะได้มีผิวสัมผัสกับกรดหรือฟองอากาศในกระเพาะอาหารได้มากขึ้น

ยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย ได้แก่ ยาชนิดที่เคลือบน้ำตาล และชนิดที่เคลือบฟิล์มบางๆ จับดูจะรู้สึกลื่น ยาดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์เนิ่นนาน ต้องการให้ยาเม็ดค่อยๆ ละลายทีละน้อย

ยาแคปซูล เป็นยาที่ห้ามเคี้ยวให้กลืนลงไปเลย ข้อดีคือรับประทานง่าย เพราะกลบรส และกลิ่นของยาได้ดี

ยาผง มีอยู่หลายชนิด และใช้แตกต่างกัน เช่น ตวงใส่ช้อนรับประทานแล้วดื่มน้ำตาม หรือชนิดตวงมาละลายน้ำก่อน และยาผงที่ต้องละลายน้ำในขวด ให้ได้ปริมาตรที่กำหนดไว้ก่อน ที่จะใช้รับประทาน เช่นยาปฏิชีวนะชนิดผงสำหรับเด็ก โดยน้ำที่นำมาผสมต้องเป็น น้ำดื่มที่ต้มสุกและทิ้งให้เย็น ต้องเก็บในตู้เย็นที่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง และหากใช้ไม่หมดใน 7 วันหลังจากที่ผสมน้ำแล้วให้ทิ้งเสีย

ยาน้ำแขวนตะกอน (Suspension) เช่น ยาลดกรดต้องเขย่าขวดให้ ผงยาที่ตกตะกอนกระจายเป็นเนื้อเดียวกัน จึงรินยารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วตะกอนยังไม่กระจายตัว แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว

ยาน้ำใส เช่น ยาน้ำเชื่อม ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ถ้าเกิดผลึกขึ้น หรือเขย่าแล้วไม่ละลาย ไม่ควรนำมารับประทาน

ยาน้ำแขวนละออง (Emulsion) เช่น น้ำมันตับปลา ยาอาจจะแยกออกให้เห็นเป็นของเหลว 2 ชั้น เวลาจะใช้ให้เขย่าจนของเหลวเป็นชั้นเดียวกันก่อน จึงรินมารับประทาน ถ้าเขย่าแล้วยาไม่รวมตัวกัน แสดงว่ายานั้นเสื่อมคุณภาพแล้ว
การเก็บรักษายา

1.
ควรตั้งให้พ้นจากมือเด็ก เพราะ ยาบางชนิดมีสีสวย เช่นยาบำรุงเลือดที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ

2.
ไม่ตั้งตู้ยาในที่ชื้น ควรตั้งอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรเก็บยาให้ห่างจาก ห้องครัว ห้องน้ำ และต้นไม้

3.
ควรจัดตู้ยาให้เป็นระเบียบ โดยแยก ยาใช้ภายนอก ยาใช้ภายใน และเวชภัณฑ์ เพื่อป้องกันอันตรายจากการหยิบยาผิด



ยาใช้ภายใน ให้ใส่ขวดสีชามีฝาปิดสนิท เขียนฉลากว่า "ยารับประทาน" โดยใช้ฉลากสีน้ำเงิน
หรือตัวอักษรสีน้ำเงิน หรือสีดำ พร้อมกับระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาด และวิธีรับประทาน ติดไว้ให้ เรียบร้อย ถ้าเป็นยาน้ำแขวนตะกอน ที่ฉลากจะต้องมี คำว่า "เขย่าขวดก่อนใช้ยา"

ยาใช้ภายนอก ให้ติดฉลากสีแดง มีข้อความว่า "ยาใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน" ในฉลากต้อง
ระบุชื่อยา สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ให้เรียบร้อย
 


4.
เก็บรักษายาไม่ให้ถูกแสงสว่าง เพราะยาบางชนิดหากถูกแสงแดดจะเสื่อมคุณภาพ จึงต้องเก็บในขวดทึบแสง มักเป็นขวดสีชา เช่น ยาหยอดตา ยาวิตามิน ยาปฏิชีวนะ และยาแอดรีนาลิน ที่สำคัญควรเก็บยาตามที่ฉลากกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่ถ้าฉลากไม่ได้บ่งไว้ก็เป็นที่เข้าใจว่า ให้เก็บในที่ซึ่งป้องกันความชื้นได้ดี
วิธีสังเกตยาเสื่อมคุณภาพ 

ยาเสื่อมคุณภาพ เป็นยาที่เปลี่ยนสภาพไป ทำให้ไม่ให้ผลในการรักษาหรืออาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ การเปลี่ยนสภาพของยา อาจเปลี่ยนจากลักษณะภายนอก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ชัด หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของตัวยา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น

ยาน้ำ จะมีการเปลี่ยนสี กลิ่น หรือมีตะกอนผิดไปจากเดิม

ยาหยอดตา จะมีลักษณะขุ่น หรือตกตะกอนของตัวยา เปลี่ยนสี

ยาเม็ด จะมีลักษณะเยิ้มเม็ดแตก ชื้น บิ่น แตก เปลี่ยนสี

ยาแคปซูล จะมีลักษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีของยาที่อยู่ภายในแคปซูลเปลี่ยนไป หรือมีสีเข้มขึ้น

ยาขี้ผึ้ง ยาครีม จะมีลักษณะเนื้อยาเยิ้มเหลว แยกชั้น กลิ่น สีเปลี่ยนไปจากเดิม

สำหรับยาแผนปัจจุบันทุกชนิด กฎหมายกำหนดให้ระบุวันสิ้นอายุไว้ในฉลาก โดยผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำหรือ
สั่งยาแผนปัจจุบันเข้าในราชอาณาจักร ต้องแสดง วัน เดือน ปีที่ยาสิ้นอายุไว้ในฉลาก

สำหรับยาแผนโบราณ หากเป็นยาแผนโบราณ ที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ต้องระบุ วันสิ้นอายุของยาดังกล่าวด้วย โดยยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่เป็นยาน้ำจะมีอายุการใช้ 2 ปีนับจากวันที่ผลิต หากอยู่ในรูปอื่นที่
มิใช่ยาน้ำจะมีอายุการใช้ 3 ปีนับจากวันที่ผลิต ส่วนยาแผนโบราณ ที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน ฉลากยาจะต้อง
ระบุวันที่ผลิต แต่จะกำหนดวันหมดอายุหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากยาแผนโบราณส่วนใหญ่ ได้จากสมุนไพรมักมี
การสลายตัวง่าย จึงควรเลือกที่ผลิตมาใหม่ๆ
ทั้งนี้ ยาทุกชนิด หากการเก็บรักษายาไม่ถูกต้องอาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันที่กำหนดไว้ได้



สารเสพติดให้โทษ....

สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"

ประเภทของสิ่งเสพติด
จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท

ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา


จำแนกตามแหล่งที่มา
จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน



คำถาม

1 ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างไร
ก.ประเภทกดประสาท
ข.ประเภทกระตุ้นประสาท
ค.ประเภทหลอนประสาท
ง.ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน

2. ข้อใดไม่ใช่สิ่งเสพติดประเภทที่ได้จากธรรมชาติ
ก. กระท่อม
ข. ฝิ่น 
ค. มอร์ฟีน
ง. เฮโรอีน

3. การรับประทานยาก่อนอาหาร ควรรับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยเท่าใด
ก. 15 นาที
ข.  5 นาที
ค. 30 นาที
ง. 90 นาที

4.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของ การเต้นพื้นเมือง (Folk Dance)
ก. นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนแต่ละท้องถิ่น
ข. เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ สะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่
ค. มีกฎระเบียบ มักเล่นเฉพาะพิธีทางศาสนา
ง.  เป็นการเล่นที่ไม่ยากนัก มักจะเล่นเป็นหมู่

5. เซิ้งบั้งไฟ เป็นการแสดงพื้นเมืองของอีสานเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อข้อใด
ก. ขอฝน
ข. ไล่ผี
ค. ขอให้รวย
ง. พืชเจริญงอกงาม


เฉลย
1.ก  2.ง  3.ค  4.ค  5.ก

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของการเต้นรำพื้นเมือง Folk Dance


ความเป็นมาของการลีลาศ...


 

            การลีลาศหรือเต้นรำ (Dance)  เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะดนตรี เพื่อแสดงออกทางด้านอารมณ์และความหรรษารื่นเริง  การเต้นรำจึงมีประวัติอันยาวนาน คู่กับมนุษยชาติเริ่มจากมนุษย์ในยุคโบราณมีการเต้นรำ  หรือฟ้อนรำเพื่อบูชาเทพเจ้าเพื่อขอพรและขอความคุ้มครอง  เป็นกิจกรรมบันเทิงควบคู่กันไปกับการกระทำพิธีกรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต  ถือเป็นรูปแบบของการเต้นรำดั้งเดิม (Primitive dance)  เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าขึ้น มนุษย์มีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาทางด้านเกษตรและการเลี้ยงสัตว์  การเต้นรำดั้งเดิมก็ได้รับการพัฒนาเป็นการเต้นรำพื้นบ้าน (Folk dance) และเริ่มเป็นกิจกรรมสังคม ที่แยกจากเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาและลัทธิความเชื่อมา เป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อความบันเทิง  และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะเพื่อนฝูง (Social relationship)   ดังนั้นการเต้นรำพื้นบ้านได้รับความนิยมกว้างขวางขึ้นในสังคมเมืองมีการพัฒนาการเต้นรำพื้นบ้าน เป็นการเต้นรำที่เรียกว่า ลีลาศ (Ballroom dance) โดยมีกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ  ในปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน


การเล่นพื้นเมือง (Folk Dance)

 

การเต้นรำประจำท้องถิ่น ถูกนำไปใช้ในการเต้นรำของความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมของยุโรปในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20และแพร่หลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งเป็นการแสดงศิลปะของชาวบ้านที่มีรูปแบบการแสดงง่าย นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนแต่ละท้องถิ่น เพื่อความรื่นเริงในฤดูเทศกาลต่าง ไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหรือเล่นเพื่อหารายได้ การแสดงพื้นเมืองจะมีลักษณะการแต่งกาย การร้อง การรำ การเต้น และเครื่องดนตรี เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น สะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการเล่นที่ไม่ยากนัก มักจะเล่นเป็นหมู่ ใครๆก็สามารถเข้าร่วมเล่นได้ ถ้าได้รับการฝึกเพียงนิดหน่อย เช่น รำวง เต้นรำอินเดียนแดง  



ตัวอย่างการเต้นรำพื้นบ้านในยุโรป
Polonez (Polish)  


Morris dance,



Bartok Romanian Folk Dance 



Tiklos" Philippine Folk Dance





การเต้นรำพื้นเมืองของไทย

การแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้

. การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยเงี้ยว ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่า

- ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง
- ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน




.    การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง

เป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ

- รำกลองยาว


           .     การแสดงพื้นเมืองของอีสาน

- เซิ้งบั้งไฟ  เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน



การแสดงพื้นเมืองของใต้

จังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทตีให้จังหวะเป็นสำคัญ

- โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล



ที่มา