ความเป็นมาของการลีลาศ...
การลีลาศหรือเต้นรำ (Dance) เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะดนตรี
เพื่อแสดงออกทางด้านอารมณ์และความหรรษารื่นเริง
การเต้นรำจึงมีประวัติอันยาวนาน
คู่กับมนุษยชาติเริ่มจากมนุษย์ในยุคโบราณมีการเต้นรำ หรือฟ้อนรำเพื่อบูชาเทพเจ้าเพื่อขอพรและขอความคุ้มครอง
เป็นกิจกรรมบันเทิงควบคู่กันไปกับการกระทำพิธีกรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ถือเป็นรูปแบบของการเต้นรำดั้งเดิม (Primitive
dance) เมื่อสังคมเจริญก้าวหน้าขึ้น
มนุษย์มีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาทางด้านเกษตรและการเลี้ยงสัตว์
การเต้นรำดั้งเดิมก็ได้รับการพัฒนาเป็นการเต้นรำพื้นบ้าน (Folk
dance) และเริ่มเป็นกิจกรรมสังคม
ที่แยกจากเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาและลัทธิความเชื่อมา
เป็นกิจกรรมนันทนาการเพื่อความบันเทิง
และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในหมู่คณะเพื่อนฝูง (Social
relationship) ดังนั้นการเต้นรำพื้นบ้านได้รับความนิยมกว้างขวางขึ้นในสังคมเมืองมีการพัฒนาการเต้นรำพื้นบ้าน
เป็นการเต้นรำที่เรียกว่า ลีลาศ (Ballroom dance) โดยมีกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ในปลายศตวรรษที่ 18 และแพร่หลายไปทั่วโลก
จนถึงปัจจุบัน
การเล่นพื้นเมือง (Folk Dance)
การเต้นรำประจำท้องถิ่น ถูกนำไปใช้ในการเต้นรำของความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมของยุโรปในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20และแพร่หลายตลอดมาทุกยุคทุกสมัย
ซึ่งเป็นการแสดงศิลปะของชาวบ้านที่มีรูปแบบการแสดงง่าย ๆ นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนแต่ละท้องถิ่น เพื่อความรื่นเริงในฤดูเทศกาลต่าง ๆ ไม่ได้ยึดถือเป็นอาชีพหรือเล่นเพื่อหารายได้ การแสดงพื้นเมืองจะมีลักษณะการแต่งกาย การร้อง การรำ การเต้น และเครื่องดนตรี เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น ๆ สะท้อนถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรม และ ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นการเล่นที่ไม่ยากนัก มักจะเล่นเป็นหมู่ ใครๆก็สามารถเข้าร่วมเล่นได้ ถ้าได้รับการฝึกเพียงนิดหน่อย เช่น
รำวง เต้นรำอินเดียนแดง
ตัวอย่างการเต้นรำพื้นบ้านในยุโรป
Polonez (Polish)
Morris dance,
Bartok Romanian Folk Dance
Tiklos" Philippine Folk Dance
การเต้นรำพื้นเมืองของไทย
การแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค
ดังนี้
๑. การแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ เป็นลักษณะศิลปะที่มีการผสมผสานกันระหว่างชนพื้นเมืองชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทยล้านนา ไทยเงี้ยว ไทยใหญ่ เงี้ยว รวมถึงพวกพม่า
- ฟ้อนเล็บ เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมที่มีความสวยงาม โดยผู้ฟ้อนสวมเล็บสีทอง- ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับฟ้อนเล็บ แต่จะฟ้อนเวลากลางคืน
๒. การแสดงพื้นเมืองของภาคกลาง
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
เป็นการแสดงพื้นเมืองที่สื่อให้เห็นการประกอบอาชีพ
- รำกลองยาว
๓. การแสดงพื้นเมืองของอีสาน
-
เซิ้งบั้งไฟ เป็นการฟ้อนในพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และในพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการขอฝน
๔. การแสดงพื้นเมืองของใต้
จังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทตีให้จังหวะเป็นสำคัญ
- โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล
จังหวะที่เร่งเร้า กระฉับกระเฉง ผิดจากภาคอื่นๆ และเน้นจังหวะมากกว่าท่วงทำนอง โดยมีลักษณะที่เด่นชัดของเครื่องดนตรีประเภทตีให้จังหวะเป็นสำคัญ
- โนรา เป็นการแสดงแบบโบราณที่มีมาช้านาน นิยมแสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล